วันพฤหัสบดีที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ไทย (Thailand)

 



11
8kiาร
12
13
มีสมาคมอาเซียนในประเทศไทยหรือไม่
สมาคมอาเซียน -ประเทศไทย จัดตั้งขึ้นในปี 2551 เพื่อเป็นช่องทางสำหรับประชาชนที่ต้องการเข้ามามีส่วนร่วมกับการสร้างประชาคมอาเซียน สมาคมอาเซียนมีเป้าหมายที่จะเผยแพร่ความร่วมมือของอาเซียนในหมู่ประชาชน เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจของประชาชนในการมุ่งไปสู่การรวมตัวกันเป็นประชาคมอาเซียนผ่านการทำกิจกรรมและ
การมีส่วนร่วมกับอาเซียนต่อประชาชนทั่วประเทศ เป็นช่องทางหนึ่งที่จะรับฟังความคิดเห็นจากประชาชน และทำให้อาเซียนสามารถเข้าถึงประชาชนพร้อมกับสร้างความตระหนักรู้ว่าพวกเขาล้วนเป็นส่วนหนึ่งที่มีความสำคัญยิ่งของ
ประชาคมอาเซียนที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคต ทั้งนี้ ผู้ที่สนใจจะสมัครเป็นสมาชิกสมาคมสามารถติดต่อกับสมาคม- อาเซียนแห่งประเทศไทย ได้ที่กระทรวงการต่างประเทศ โทรศัพท์ 02-643500
0 ต่อ 4424



ชื่อทางการ : ราชอาณาจักรไทย (Kingdom of Thailand)
ที่ตั้ง : ตั้งอยู่บนคาบสมุทรอินโดจีน ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีพรมแดนทางทิศตะวันออกติดประเทศลาวและประเทศกัมพูชา ทิศใต้ติดอ่าวไทยและประเทศมาเลเซีย ทิศตะวันตกติดทะเลอันดามันและประเทศพม่า และทิศเหนือติดกับประเทศพม่าและประเทศลาว โดยมีแม่น้ำโขงกั้นเป็นบางช่วง
พื้นที่ : 513,115.02 ตารางกิโลเมตร
เมืองหลวง : กรุงเทพมหานคร (Bangkok)
ประชากร : 64.7 ล้านคน (2551)
ภูมิอากาศ : เป็นแบบเขตร้อน อากาศร้อนที่สุดในเดือนเมษายนถึงพฤษภาคมเป็นฤดูร้อน โดยจะมีฝนตกและเมฆมากจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ในช่วงกลางเดือน พฤษภาคมถึงเดือนตุลาคมเป็นฤดูฝน ส่วนในเดือนพฤศจิกายนถึงกลางเดือนมีนาคม อากาศแห้งและหนาวเย็นจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือเป็นฤดูหนาว ยกเว้นภาคใต้ที่มีอากาศร้อนชื้นตลอดทั้งปีจึงมีแค่สองฤดูคือฤดูร้อนกับฤดูฝน
ภาษา : ภาษาไทยเป็นภาษาราชการ
ศาสนา : ประมาณร้อยละ 95 ของประชากรไทยนับถือศาสนาพุทธนิกายเถรวาท ซึ่งเป็นศาสนาประจำชาติโดยพฤตินัย แม้ว่ายังจะไม่มีการบัญญัติในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยก็ตาม ศาสนาอิสลามประมาณร้อยละ 4 ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวไทยทางภาคใต้ตอนล่าง ศาสนาคริสต์และศาสนาอื่นประมาณร้อยละ 1
สกุลเงิน : บาท (Baht : THB)
ระบอบการปกครอง : ระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
* พระมหากษัตริย์ คือ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช สยามินทราธิราช
บรมนาถบพิตร (His Majesty King Bhumibol Adulyadej)
* นายกรัฐมนตรี คือ นางสาว ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร (Miss Yingluck Shinawatra) (5 สิงหาคม พ.ศ.2554 - ปัจจุบัน)
1

สกอ.หนุนใช้ TQF รับมือประชาคมอาเซียน
สกอ.กังวลการเปิดประชาคมอาเซียนปี 2558 จะกระทบการศึกษาไทย เห็นด้วยให้นำกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ (Thai Qualifications Framework :TQF) มาปฏิบัติ หวังพัฒนาคนไทยยุคใหม่ให้มีคุณภาพเทียบเท่านานาชาติได้

นายกำจร ตติยกวี รองเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) กล่าวตอนหนึ่งในการเป็นประธานเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง "กรอบมาตรฐานคุณวุฒิ : การเขียนและการประเมินมาตรฐานผลการเรียนรู้ที่ดี" ว่า การผลิตบัณฑิตในขณะนี้ต้องเผชิญทั้งปัจจัยภายนอก ภายใน ที่มีผลกระทบต่อการจัดการศึกษา โดยเฉพาะการรวมตัว เป็นประชาคมอาเซียนในปี 2558 ซึ่งจะส่งผลต่อการเคลื่อนย้าย เพื่อแลกเปลี่ยนนักศึกษา อาจารย์ และนักวิจัย ได้โดยสะดวก เพราะเป็นการเปิดเสรีการค้าบริการด้านการ ศึกษาที่นำไป สู่การแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ภาษา ขนบธรรมเนียม ประเพณี และวัฒนธรรมระหว่างประเทศสมาชิก ซึ่งเรื่องดังกล่าวอาจ ส่งผลกระทบโดยตรงต่อกระทรวง ศึกษาธิการและสถาบันการศึกษาที่ถูกฝากความหวัง เพราะให้เป็นแหล่งบ่มเพาะปัญญา สำหรับคนรุ่นใหม่ก่อนเข้าสู่โลกของการทำงาน

ทั้งนี้ สกอ.จึงกำหนดแนวทางโดยใช้ชื่อว่า กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (Thai Qualifications Framework : TQF : HEd) หรือ TQF มีวัตถุประสงค์เพื่อรวม พลังผู้ที่มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาทุกฝ่าย ทั้งผู้บริหาร คณาจารย์ จากสถาบันอุดมศึกษาต่างๆ องค์กรวิชาชีพ นักศึกษา และผู้ที่เกี่ยวข้อง เข้ามาร่วมกันกำหนด คุณลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์ตามความ สามารถเทียบเคียงกับบัณฑิตของนานาประเทศ

"หลักสูตรแนวใหม่ของสถาบันอุดมศึกษาจึงต้องมุ่งเน้นมาตรฐานผลการเรียนรู้ของบัณฑิตเป็นสำคัญ และต้องมีกลไก ในการบริหารจัดการปัจจัยนำเข้าอื่นๆ ตลอดจนปรับปรุง บรรยากาศและสิ่งแวดล้อมต่างๆ ทั้งนี้ เชื่อว่า TQF จะเป็นกลไก ที่จะก่อให้เกิดกิจกรรมต่างๆ ในการปฏิรูปการเรียนการสอน เพื่อให้บัณฑิตมีคุณภาพและมาตรฐาน มีทักษะและ สมรรถนะในการทำงานตามที่มุ่งหวัง ผลักดันให้ประเทศชาติมีขีดความสามารถในการแข่งขันทัดเทียมกับนานาชาติได้" รองเลขาธิการ กกอ.กล่าว.
1
การเตรียมตัวเข้าสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2558 เพื่อให้สามารถเเข่งขันกับประเทศต่างๆได้ ้แนะผู้ประกอบการไทยใช้กลยุทธ์ "รู้-รับ-ปรับตัว-รุก "และเชื่อโอกาส การค้าไทยจะขยายตัวในอาเซียนร้อยละ 30 ภายใน 5 ปี สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติจัดสัมมนาวิชาการ ประจำปี 2554 เรื่อง“การเตรียมความพร้อมของ ประเทศไทยเข้าสู่ประชาคมอาเซียน หรือ AEC ด้วยปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิม พระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554 ” โดยมีนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ปาฐกถาในหัวข้อ" แนวทางการเตรียมความ พร้อมของประเทศไทยเข้าสู่ประชาคมอาเซียน" แนะให้ผู้ประกอบการไทยใช้กลยุทธ์ "รู้-รับ-ปรับตัว-รุก" ในการปรับตัวเข้าสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2558 เพราะสินค้าจากต่างประเทศจะไหลเข้าในประเทศมากขึ้น ทำให้เกิดการแข่งขันที่สูงขึ้น,เปิดโอกาส ให้นักลงทุนต่างประเทศที่มีขีดความสามารถและมีความเข้มแข็งเข้ามา ใช้ประโยชน์ในโครงสร้างพื้นฐานของไทยที่มีจำกัด เช่น ระบบชลประทาน ที่ดิน และผลิตผลทางการเกษตร และอาจถูกสินค้าจากต่างประเทศเข้ามาแย่งตลาด โดยใช้ความ ได้เปรียบด้านราคาเข้ามาแข่งขัน,ผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่ขีดความสามารถในการแข่งขันต่ำจะดำเนินธุรกิจได้ยากขึ้น และอาจรุนแรงจนถึงขั้นแข่งขัน ไม่ได้ รวมทั้งอาจทำให้แรงงานมีฝีมือของไทยอาจไหลไปยังต่างประเทศ เพราะมีค่าจ้างแรงงานที่สูงกว่า
นายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย อดีตรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ กล่าวปาฐกถาเรื่องประชาคมอาเซียนว่า การเปิดเสรีภายใต้ AEC นั้นไม่ได้ มุ่งเน้นไปที่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนเพียงอย่างเดียว แต่เน้นในเรื่องของการเมืองและวัฒนธรรมด้วย เพราะจะเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันให้ประเทศใน อาเซียนมีความแข็งแกร่ง อย่างไรก็ตามเพื่อให้ และประเทศไทยเองก็ควรยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียงเป็นตัวนำ เพราะเป็นหลักของความพอประมาณ สมเหตุสมผล ทั้งด้านการค้าและการลงทุน เพื่อให้ สามารถแข็งแกร่งได้ภายใต้การรวมประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กล่าวว่า ในส่วนของภาคเอกชนและภาครัฐจะต้องให้การสนับสนุนการค้าใน AEC มากขึ้น จากปัจจุบันที่ไทยส่งออกสินค้าไป ยังประเทศ ในกลุ่มเซียนประมาณร้อยละ 23 และเชื่อว่าหลังจากมีประชาคมอาเซียนเกิดขึ้น ภายใน 5 ปี มูลค่าการค้าระหว่างไทยกับอาเซียนจะเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 30
อย่างไรก็ตาม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ยอมรับว่าการก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ประชาชนอาเซียนจะต้องเข้ามาร่วมมือกันและทำความเข้าใจ แต่ขณะนี้ยังไม่ ระบุชัดเจนว่าประเทศไทย มีความเข้าใจเรื่องนี้ตามผลสำรวจในอันดับสุดท้าย ซึ่งคงต้องเร่งหาข้อมูลและสร้างความรู้ความเข้าใจไปยังภูมิภาค ต่อการเป็นประชาคม ในอนาคต ต่อไป
1
2 3

ข้อมูล ประชาคมอาเซียน


         ไทย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ มาเลเซีย ลาว


31

ประชาคมอาเซียนคืออะไร ประชาคมอาเซียนประกอบด้วยความร่วมมือ 3 เสาหลัก คือ
ประชาคมความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Security Community – ASC)
ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community – AEC)
ประชาคมสังคมและวัฒนธรรม (ASEAN Socio-Cultural Community - ASCC)

สัญลักษณ์อาเซียน

6
สัญลักษณ์อาเซียน
สัญลักษณ์อาเซียน คือ ต้นข้าวสีเหลือง 10 ต้น มัดรวมกันไว้ หมายถึง ประเทศสมาชิกรวมกันเพื่อมิตรภาพและความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน
สีน้ำเงิน หมายถึง สันติภาพและความมั่นคงสีแดง หมายถึง ความกล้าหาญและความก้าวหน้าสีขาว หมายถึง ความบริสุทธิ์ และ
สีเหลือง หมายถึง ความเจริญรุ่งเรือง

คำขวัญของอาเซี่ยน
"One Vision, One Identity, One Community"
"หนึ่งวิสัยทัศน์ หนึ่งเอกลักษณ์ หนึ่งประชาคม "

กำเนิดอาเซียน